วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คู่มือวิธี Trace Down Strem




                                      การ Trace Down Stream นับว่าเป็นการใช้งาน Tools ที่มีความสำคัญมากตัวหนึ่ง ในหลายๆ ตัวของ GIS Phase2 เลยทีเดียว เพราะ Tools ตัวนี้ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า อุปกรณ์ตัวนี้ หรือ หม้อแปลงลูกนี้ จ่ายไฟไปที่สายไฟเส้นไหนบ้าง มีมิเตอร์ ที่รับไฟ กี่ตัว อะไรบ้าง หรือ แม้แต่ จะทำการ Up Stream สำหรับดูว่า อุปกรณ์ตัวนี้รับไฟมาจาก หม้อแปลงลูกไหน น่าสนใจไหมล่ะครับ งั้นมาดูขั้นตอนการใช้งานกันได้เลยครับ 



            1.ทำการค้นหา PEA No. ของ หม้อแปลงลูกที่เราต้องการค้นหา



2. เปิด แท็บเครื่องมือ “ArcFM Electric Trace” และ “Utility Network Analyst” จาก ปุ่มการเปิด/ปิดtoolbars



3. ในแท็บ Network ให้เลือกเป็น “PEA.ElectricDataset_Net” ไม่อย่างงั้นจะทำการ Trace 22kva,กับแรงต่ำไม่ได้


4. เลือก Arc FM DownStream Trace









5. ที่ตัวเคอร์เซอร์จะเป็นรูปธง ให้นำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ยังตำแหน่งหม้อแปลง  เคอร์เซอร์จะแสดงสีเขียวแล้วปักธง(คลิ๊กซ้าย)






6. การแสดงผล ของอุปกรณ์ที่ต่อจากหม้อแปลง จากภาพคือเส้นทางสีฟ้า 
    (ถ้าไม่ขึ้นเป็นเส้นสีฟ้า ให้คลิ๊กที่ tools แบบในรูปก่อนวงเล็บ )


7. กรณีต้องการดูอุปกรณ์

7.1 เลือก Tap Selection : จะพบว่าชั้นข้อมูลถูกเลือกจะแสดงขนาดตัวหนังสือตัวหนา
เช่น         –DS_Transformer:หม้อแปลงไฟฟ้า(1)  มีจำนวน  1 ตัว
                -DS_LowVoltageMeter:มิเตอร์แรงต่ำ 400/230V.(119)  มีจำนวน  119 ตัว


7.3 คลิ๊กขวา บริเวณชั้นข้อมูลของอุปกรณ์ แล้วเลือก “Open Table Showing Selected Features” หรือ “open attribute table"


ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูปต่อไปนี้





           8. การ Export งาน เพื่อนำไปใช้งานใน Exel
                 8.1  คลิ๊กที่ Option   






8.2 save ไว้ที่โฟลเดอร์ที่ต้องการ




พอเสร็จแล้วจะเป็นดังรูป



9. วิธี Import file เข้ามาใน Exel
9.1 เลือกไฟล์ที่เป็น type : DBF File




9.2 คลิ๊กขวา แล้ว เปิดโดยโปรแกรม Excel ขึ้นมา 

แค่นี้แหละครับ ไม่ยากจนเกินไปนะครับ สำหรับกรณีที่ต้องการทำเปน up Stream ก็เพียงเปลี่ยน อุปรกณ์ที่คลิ๊กเป็น Up Stream แทนเท่านั้นเอง 


ขอบคุณที่พยายามอ่านมาจนจบนะครับ ขอขอบคุณ คุณจารุดา ผวอ.ฝปค.น.3 ที่กรุณา ทำคู่มือ การ trace down ไว้ให้ผม ได้เอามาดัดแปลงลงเว็บในครั้งนี้ 






วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเคลื่อนย้ายมิเตอร์ อย่างง่าย ด้วยการใช้คำสั่งShape

                         ในการเคลียร์Back Log ของแผนกมิเตอร์ งาน1ใน3ของ แผนก คือการย้ายมิเตอร์ วันนี้เรามีเทคนิคการย้ายมิเตอร์ อย่างรวดเร็ว และ ให้ค่า X-Coord ,Y-Coord ถูกต้อง มาฝากกัน






 จากในรูปข้างบน เราต้องการย้าย มิเตอร์ แรงต่ำ PEA-Meter คือ 26099987 ขั้นแรกให้ ทำการ Select ไปที่ หัวมิเตอร์ลูกที่เราต้องการดังรูปข้างล่าง



 หลังจากนั้นให้ทำการเปิด ArcFM Attribute
โดยกดไอคอนดังรูป
หลังจากดแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาดังรูปข้างล่าง



แล้วไปที่ tab selection แล้วให้กด + ลงมาจนเห็นเป็นรหัสอุปกรณ์ จะสังเกตุเห็น ช่องสีเหลืองที่มี คำว่า "shape" อยู่ให้คลิ๊กไปที่ช่องสีเหลืองแล้ว จะเป็นดังรูป ข้างล่าง


 จะมีไอคอน เหมือนปากกาขึ้นมา ยังช่องสีเหลืองที่เปลี่ยนเป็นสีขาวแล้ว ให้กด ที่ปากกา อันนั้น แล้วทำการย้ายไปหาตำแหน่ง ที่ต้องการจะย้าย มิเตอร์ ลูกนี้ไป



 แล้วคลิ๊ก เพื่อสร้าง ตำแหน่งใหม่ของลูกมิเตอร์ ด้วยการ คลิ๊กครั้งที่ 1 เพียง1ครั้งสำหรับ ตำแหน่งของลูกมิเตอร์ และ ลากเมาส์ (ขั้นตอนนี้ไม่ต้องกดเมาส์ แช่ นะครับ) เพื่อกำหนดทิศทางตัวอักษร M และ ด้านที่จะแสดง หมายเลขของมิเตอร์ลูกนั้นๆ ด้วยการคลิ๊ก ครั้งที่ 2 อีก 1ครั้ง เมื่อทำเสร็จะได้ กากบาท สีแดง ออกมาดังรูปข้างบน


แล้วกด Update ที่เป็นปุ่มที่อยู๋ตรงกลางของหน้าต่าง ArcFM Attribute จะเป็นการยืนยันว่าเราจะย้าย หัวมิเตอร์ แล้ว โปรแกรมจะย้าย มาตามคำสังของเรา ดังรูปข้างบน


ปลด selection แล้วเราจะเห็นได้ดังรูป ข้างบนว่า มิเตอร์เราย้ายมาเรียบร้อยแล้ว ต่อไป คือขั้นตอนการเชื่อมสาย Eservice Line เข้ากับสายแรงต่ำ ด้วยการกด ไอคอน
 ตัวนี้ ในแทปเมนู ของ LV หรือ เครื่องมือในการสร้างอุปกรณ์แรงต่ำ



พอเปิดขึ้นมา ให้กด drop down เพื่อ เลือก LineLinksLVMeter connect to LV    ดังรูปข้างบนแล้วกด ตกลง


คลิ๊กซ้าย1ครั้ง ที่มิเตอร์ ที่ย้ายมา แล้ว ทำการลาก สายอีกด้านเข้าหา สายแรงต่ำ ลงบนบริเวณที่ต้องการดังรูปข้างบน แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก


เมื่อดับเบิ้ลคลิ๊ก เสร็จแล้ว จะเป็นดังรูปข้างบน หลังจากนั้นให้ ย้อนกลับไปที่หน้า เดิม ที่ตำแหน่ง ที่ย้ายมิเตอร์มา ดังรูปข้างล่าง


กด Selection ให้เป็นสีฟ้า แล้ว คลิ๊กขวา กด Delete เพื่อ ลบสาย EserviceLine อันเก่าทิ้ง หลังจากจัดการขั้นตอนนี้เรียบร้อย ดังรูปข้างล่าง


เส้น EserviceLine อันเก่าก็จะหายไปแล้ว ก็นับว่าการย้ายมิเตอร์ เสร็จสิ้น สมบูรณ์ หลังจากนั้นก็ ทำการsave session และ จะทำลูกอื่นต่อไป หรือ Batch post ลง Server ก็ตามแต่ User ท่านไหนสะดวกครับ

การย้ายมิเตอร์ ก็ง่ายๆเพียงเท่านี้เท่านั้นเอง ขอบคุณที่ มาศึกษาหาความรู้ และ ทนอ่านกันอยู่นานนะครับ


++++++++กลับไปหน้า FAQ ของ GISN3 Website++++++++

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาการ ไม่ต้องจัด tab menu ทุกครั้งที่ใช้งานDM,FAC

บ่อยครั้งที่เราต้องเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วต้องมาเสียเวลาในการจัดแทบเมนูใหม่ทุกครั้ง

มีขั้นตอนง่ายๆในการ ทำให้แทบเมนูของเรา เปิดมาแล้วไม่ต้องจัดอีกต่อไป

นั้นคือ ในขั้นตอนการเปิดใช้งานโปรแกรม เพียงแค่คลิ๊กไปที่  "เปิดจากต้นฉบับ"


ดังรูปข้างล่าง แล้วเปิดเข้าใช้งาน แทบเมนูต่างๆของเราก็จะเข้าไปยังบริเวณที่มันควรจะอยู่ไปเอง


ง่ายไหมล่ะครับ ^______________^" ขอให้มีความสุขกับการทำงานครับ GISN3

+++++กลับไปที่ หน้า FAQ ที่ GISN3+++++++

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแก้ไขปัญหา SESSION QA/QC

การแก้ไขปัญหา Session QA/QC

อะไรคือ Session QA : Session QA คือ เกิดปัญหาการเชื่อมต่อ อุปกรณ์ที่สร้างเข้าไปเกิดความผิดพลาด เช่น สายไม่เชื่อมติดกัน อุปกรณ์ลอย เฟสผิด และ การเชื่อมต่อ ผิดอุปกรณ์

คือการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการ Bath Post Session แล้ว ไม่สามารถลงในระบบ Server GIS phase 2 ได้
แล้วสถานะ เกิดเปลี่ยนจาก pending post เป็น session QA ดังรูปข้างล่าง

ให้ทำการเปิด Session ที่เกิดปัญหาเข้า ไปด้วยการ Double Click ที่ Session ดังกล่าว



แล้วให้คลิ๊ก ที่ปุ่ม ArcFM QA/QC version Different ที่ไอคอนดังรูป




แล้วรอให้โปรแกรม อ่าน เช็ค QA/QC หลังจาก รอจนอ่านเสร็จ ให้ไป click ที่ ArcFM Attribute
ดังรูป

แล้วกดไปที่ Tab ที่ชื่อ QA/QC ถ้ามี Error จะโชว์ เป็นตัวสี แดง ขึ้นว่า insert กด บวกข้างหน้า ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็น tag อุปกรณ์ ดังรูปข้างล่าง

แล้ว click ขวาที่ตัวอุปกรณ์นั้นๆ แล้ว  zoom to เพื่อ ย้ายไปยังอุปกรณ์ดังกล่าว แล้วทำการแก้ไข ให้เรียบร้อย

หลังจากนั้น ทำขั้นตอนซ้ำ ด้วยการ ใช้ ArcFM QA/QC version Different อีกรอบ แล้วให้กด ArcFM Attibute อีกครั้ง ถ้าไม่มีอะไรerror แล้ว จะปรากฏดังรูปข้างล่าง


แล้วทำการ save แล้ว ปิดงาน แล้ว เข้า Session manager ใหม่อีกครั้ง เพื่อทำการPost เข้าระบบอีกครั้งดังรูปข้างล่าง



หลังจากโพสกลับเข้าระบบก็ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการ ครั้งต่อไป หากจะป้องกันการเกิด QA/QC อีก ให้ให้ทำการ กด ที่ ArcFM QA/QC version Different ก่อนจะทำการโพสงานเข้า SERVER ทุกครั้ง ปัญหาตรงนี้ก็จะหมดไปครับ ขอบคุณที่อ่านมาจนจบ ขอบคุณครับ ^_______________^"

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

การแก้ไขปัญหา Session Conflict

    ปัญหาSession Conflict เป็นปัญหาที่พบเจอกันได้บ่อยๆ หลังจากมีการเปิดฐานข้อมูลและ มีการใช้งาน โปรแกรม DM - Data Maintenance เพื่ออัพเดตข้อมูล Backlog

อะไรคือ Session Conflict ?

          session conflict คือ ความขัดแย้งของข้อมูล ที่จะนำอัพโหลด ลงยัง เครื่องserver ปัญหาดั่งกล่าวเกิดจาก ในขณะทีีทำงาน สร้างsession นั้นๆ มีการแก้ไขข้อมูลในบริเวณเดียวกัน อุปกรณ์ตัวเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงมีการแก้ไขข้อมูล หรือ อุปกรณ์ ทำให้server ตรวจสอบแล้วว่าsessionดั่งกล่าวมีข้อมูล ที่ไม่ถูกต้อง หรือ ซ้ำซ้อนกัน จึงแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งาน ตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำลงserver

                 หลังจาก batch Post ลงในserverแล้ว ตัวsession ไม่หายไปแล้ว ติดตัวแสดงสถานะว่า Session Conflictดังรูป





























                       จากในรูปข้างบน เราต้องเข้าไปแก้ไขใน session ที่เกิดConflict ด้วยการ Open Session ตัวSession ที่มีปัญหา



                    หลังจากเปิดขึ้นมาให้เข้าไปที่ แทบเครื่องมือ ของ session manager ที่ใช้ในการเปิดปิด session จะมีเครื่องมือตังนึงชื่อว่า Reconcile session
ให้กด click เข้าไป ที่ไอคอนดังรูป
Reconcile session

จะมีการตรวจสอบSession ว่ามีอะไรขัดแย้งกับใน Server บ้าง แล้วจะมีคำสั่งเตือนขึ้นดังรูป


                  ให้กด OK แล้ว จะเข้าสู่การตรวจสอบ จะเห็นได้จากในรูปข้างล่างว่า จะมีข้อมูลปัจจุบัน, ข้อมูลก่อนการตรวจสอบ ,ข้อมูลขัดแย้ง และ ข้อมูลก่อนการแก้ไข 



                ปุ่ม conflict display จะแสดง ภาพกราฟฟิกของข้อมูลขัดแย้งกันที่เกิดขึ้น แล้วให้คลิ๊กขวา ที่แทบด้านซ้าย ที่แสดงรหัสอุปกรณ์ไว้ แล้วเลือกว่าจะใช้ข้อมูลตัวไหน จาก ข้อมูลที่แสดง หลังจากทำจนครบทุกตัวก็ให้ปิด หน้าต่างนี้ แล้ว save session แล้ว ทำการ Post ซ้ำอีกครั้งนึง
               ในกรณีที่อุปกรณ์ที่ซ้ำซ้อน หรือ ขัดแย้งขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ที่ ผู้ใช้ไม่ได้ลง หรือ แก้ไข ให้กดปิดไปเลย ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แล้วsave session แล้วทำการPost ลงใหม่อีกครั้ง เพราะในระหว่างที่สร้างงาน มีการแก้ไขข้อมูลในส่วนอื่นแต่มีบิรเวณเดียวกัน หรือ อุปกรณ์ที่ต่อเนื่องกัน โปรแกรมจึงฟ้องให้ตรวจสอบอีกครั้ง


               สุดท้ายนี้ หากจะป้องกันการเกิด Session Conflict ให้กด Reconcile ทุกครั้งก่อน Post ลง Server ขอบคุณที่เสียเวลาอ่านมานาน ^____^"



ยินดีต้อนรับสู่ แหล่งรวม Tip and Trick ของ GISN3

blog นี้จะเป็นที่รวบรวมการแก้ไขปัญหา ที่จัดทำไว้โดยทีมงานของแผนกแผนที่ระบบไฟฟ้า หรือ GIS section ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาค 1 จ.ลพบุรี